The Thai Beatles – มาตรฐานใหม่ของเพลงคัฟเวอร์
...
ช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2562 พี่บรรณเจ้าของค่ายใบชาซองได้ส่งข้อความแจ้งเรื่องโปรเจคอัลบั้มใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่แต่ยังขาดภาพปก จึงได้โทรศัพท์พูดคุยกันออกมาเป็นคอนเซ็ปต์ของภาพที่สุดท้ายแล้วได้รับเกียรติให้เป็นผู้วาดปกอัลบั้มคัฟเวอร์บทเพลงของสี่เต่าทองในรูปแบบไทยๆ ซึ่งใช้ชื่อว่า The Thai Beatles (ขอเรียกสั้นๆว่า TTB) ซึ่งอาจทำให้มีความลำเอียงในการพูดถึงหรือวิจารณ์ TTB อยู่บ้าง แต่จะพยายามที่จะรีวิวอัลบั มนี้ด้วยความเป็นกลางอย่างที่สุด
...
ผ่านไปราวครึ่งปี จึงได้รับซีดี TTB ที่ถูกบรรจุในปกกระดาษแข็งพับอย่างดี มีข้อมูลรายละเอียดภาพวาดปก หน้า เนื้อเพลง ภาพถ่ายและรายชื่อนักร้องนักดนตรี ทั้งหมดถูกพิมพ์บนกระดาษหนา คุณภาพดีทำเป็นหนังสือเล่มเล็กติดไว้กับปกหน้าด้านใน ในยุคก่อนนี้ไม่นานนักรูปภาพจากปกซีดีนี้ล่ะคือสิ่งเดียวที่จะบอกใบ้ถึงแนวดนตรีในแผ่น จึงนับว่าโชคดีที่ในปัจจุบันมียูทูปมีโลกโซเชียล ช่วงก่อน TTB จะวางแผงทางใบชาซองจึงได้ปล่อยตัวอย่างสามสี่เพลงสั้นๆให้พวกเราได้รับฟัง ได้ปรับความคาดหวังและปรับอารมณ์ให้ไปด้วยกันเสียก่อน เพราะหากมองเพียงแพคเกจภายนอก ภาพจากปกหน้าบอกใบ้เพียงแค่ว่าน่าจะเป็นอัลบั้มคัฟเวอร์บทเพลงของ The Beatles ในรูปแบบดนตรีไทยหลากหลายจากทั้งสี่ภาคภายในตัวเพลงนั้นอาจมีความขี้เล่น มีความอยากทดลองดนตรีอะไรใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์ประณีตละเอียดละออ โทนสีที่ภาพปกเลือกใช้อาจทำให้รู้สึกถึงความถ่อมตัว ใบ้ถึงโทนดนตรีที่หลากหลายแต่ก็น่าจะออกแนวสุภาพ น้ำเสียงไม่ฉูดฉาดนัก
...
พลิกดูด้านหลังถึงแม้จะเห็นรายชื่อเพลงฮิตที่คุ้นหูกัน ทั่วไปอย่าง Across the Universe หรือ Help! กับเพลงที่ขนาดต้องเป็นแฟนสี่เต่าทองระดับหนึ่งถึงรู้จักติดมาด้วย อย่างเช่น Day Tripper และ Norwegian Wood (This Bird has Flown)
แต่กลับไม่มีเพลงสุดฮิตอีกหลายเพลง บางท่านจึงอาจรู้สึกผิดหวัง อยู่บ้างที่ไม่เห็นชื่อเพลงระดับอมตะนิรันดร์กาลอย่าง Yesterday, Ob-La-Di, Ob-La-Da, Something หรือแม้กระทั่ง Let It Be ความจริงแล้วต้องนับเป็นข้อดี เพราะเพลงติดหูยากกว่าเหล่านี้ล่ะที่ทำให้ฟังอย่างไรก็ไม่เบื่อเอาเสียเลย มันมีความซับซ้อน มีความดึงดูดให้ต้องฟังวนไป มา ไม่น่าจะต่างจากที่อัลบั้มนี้ต้องการจะเป็น
...
ต่อจากชื่อเพลงสังเกตเห็นชื่อศิลปินที่มาร่วมขับขานบาง ท่านซึ่งอยู่ในระดับดาวค้างฟ้า ชวนให้อยากรับฟังขึ้นมาทันทีไม่ว่าจะเป็น วินัย พันธุรักษ์ อดีตสมาชิกดิอิมพอสซิเบิล และ สุนทรี เวชานนท์ ซึ่งเคยร่วมงานกับ จรัล มโนเพ็ชร เหลือบลงมาด้านล่างปกหลังประดับด้วยโลโก้ Reel Mastering, 24 bit/ 176.4 kHz และ Mastering For Music and Audiophile Lovers สร้างความคาดหวังถึงคุณภาพเสียงซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มอรรถรสการรับฟังได้มากอยู่นั่นทำให้ TTB ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นไปอีก
...
อัลบั้มนี้แต่เดิมถูกโปรโมท เปิดตัวไว้เพียงสิบแทร็ก ต่อมาไม่นานก่อนวางแผงถูกเพิ่มเป็นสิบเอ็ดด้วยแทร็กแรกสั้นๆ ที่เป็นเสียงคุณแม่สวีทนุชกล่าวต้อนรับ ทำให้ได้ลุ้นกันว่านี่จะทำให้ภาพรวมของอัลบั้มนี้เปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน เพราะมันคือเฟิร์สอิมเพรสชั่น!
สุดท้ายแล้ว...คุณแม่สวีทนุชก็ยังคงเป็นคนเดิม คนที่ทำให้ได้รู้จักค่ายเพลงนี้กับอัลบั้ม “ต้นฉบับเสียงหวาน” ที่เปี่ยมไปด้วยความขี้เล่น ความสนุกสนาน น้ำเสียงที่มีเสน่ห์ ถึงแม้จะเป็นบทพูดสั้น ๆ สำหรับแทร็กแรกนี้ แต่นั่นสามารถเรียกรอยยิ้มได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคำว่า “นะคะ”
...
เพลงลำดับต่อไปขอแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกคือสี่เพลงที่สร้างสรรค์ดนตรีสุดยอด เสียงร้องราวร่ายมนต์ฟังแล้วเหมือนโดนหมัดฮุคแล้วกองตายละลายอยู่ตรงนั้นตั้งแต่รอบแรกที่ผ่านหู ได้แก่เพลง Come Together ขับร้องโดย เก่ง ธชย, Across the Universe โดย แนท บัณฑิตา, When I’m Sixty-Four โดย สุนทรี เวชานนท์ และ Oh! Darling โดย กุ๊ก อรสุรางค์ สี่แทร็กนี้นับว่ามีความสร้างสรรค์ในการเรียบเรียงทำนองดนตรีที่คุ้นหูกันดีให้ออกมาเป็นรูปแบบไทย ๆ ได้อย่างแนบเนียนที่สุดแบบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้
คุณสุนทรีได้เปลี่ยนอารมณ์ของเพลงในเวอร์ชั่นต้นฉบับเดิมจากสดใสสนุกสนานเป็นโทนเศร้าสร้อยแสนไพเราะในสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอ แทบจะเปลี่ยนภาพเครื่องเสียงตรงหน้าเป็นวิวเชิงดอยอากาศเยือกเย็นหม่นหมอง หมอกปกคลุมลอยเลื่อนอย่างเชื่องช้า หรือไม่ว่าจะเป็นเสียงแนทเอื้อนขับขานสำเนียงเพลงไทยเดิมซึ่งให้อารมณ์ดนตรีอย่างน่าทึ่ง ราวกับระนาด ขลุ่ย ฉิ่ง และเปิงมางที่เล่นคลอมาด้วย กันอย่างอลังการนั้นมาปรากฏ อยู่ตรงหน้าชวนขนลุกจริงจัง
ส่วนกุ๊กขับร้องด้วยสำเนียง ลูกทุ่งได้อย่างดีเยี่ยม ไม่เคยคิดว่า Oh! Darling ซึ่งต้นฉบับนั้นเป็นอะไรที่ไร้ที่ติ จะถูกนำมาเรียบเรียงใหม่กลายร่างมาเป็นเวอร์ชั่นบ้านนา ได้อย่างน่าทึ่งเช่นนี้ สุดท้ายสำหรับเก่งนั้นที่แปลงร่างเป็นยักษ์โหดเปล่งวาจาด้วยสำเนียงโขนอันดุดันได้ ฉีกชำแหละต้นฉบับ Come Together ออกมาเป็นชิ้น ๆ อย่างไร้ความปรานี เขาขับร้องอย่างสร้างสรรค์ชวนตื่นตะลึง และมีเอกลักษณ์ในรูปแบบที่ไ ม่เคยได้ยินจากที่ไหนมาก่อน
...
กลุ่มที่สองคือเพลงที่เชื่อมโยงความต่อเนื่องของอัลบั้มอย่างเรียบง่ายและไพเราะ ถึงแม้จะเรียบเรียงและดำเนินดนตรีเสียงร้องด้วยท่วงทำนองเนิบ ๆ แต่ด้วยความสามารถส่วนตัวของนักร้อง นักดนตรีแต่ละท่านที่ใส่ทุก รายละเอียดให้กับความเรียบง่ายเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงลูกทุ่งระดับสุดยอดกับเบิร์ด ธรรมรัตน์ในเพลง Day Tripper น้ำเสียงหมอลำโมเดิร์นโดยรัสมีในเพลง I Feel Fine บทเพลงแนวดนตรีภาคอิสานขับร้องโดยอนิล สุวรรณโชติ กับเพลง Norwegian Wood (This Bird has Flown) เพลงสำเนียงลูกกรุงติดหู Girl โดยวินัย พันธุรักษ์ หรือแทร็กปิดท้ายที่สุดแห่งความสร้างสรรค์ของการเรียบเรียงกับ Help! โดยวงพื้นบ้านประสานเสียง จึงทำให้ทุกเพลงน่าติดตามรับฟัง และเสริมให้เพลงอื่นโดดเด่น ขึ้นไปอีก
...
ส่วนกลุ่มที่สามคือเพลงที่ต้องหยิบมาฟังซ้ำ ๆ เพื่อให้เข้าใจกับสิ่งที่เพลงนำเสนอเสียก่อน ไม่ใช่อะไรที่ทำให้ติดหูตั้งแต่รอบแรก ๆ แต่แทร็กนี้ล่ะที่น่าจะทำให้ได้หยิบอัลบั้มนี้มาฟังซ้ำอีกถึงแม้เวลาจะผ่านไป นั่นคือ Lucy in the Sky With Diamonds โดยโอ๋ ชุติมา แทร็กนี้มีความซับซ้อนของดนตรีสูง ได้กลิ่นโพรเกรสซีฟผสมผสานกับความเป็นปักษ์ใต้แบบสมัยใหม่อย่างลงตัว ฟังยังไม่ทันจบรอบแรกก็รับรู้ทันทีว่านี่เป็นแทร็คที่ขับร้องได้ไม่ง่าย เนื่องจากต้องเป็นตัวเชื่อม ให้กับแนวดนตรีที่ไม่น่าจะเข้ากันได้เลย แต่ผลลัพธ์ที่ออกมานับว่าดีงาม
...
ภาพรวมดนตรีใน TTB เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมทาง ดนตรีของทั้งสองฝั่งระหว่าง ความเป็นสากลและความเป็นไทย แท้ ๆ ในรูปแบบที่ไม่เคยมีใครทำหร ือรับฟังมาก่อน จึงอาจต้องใช้เวลาในการปรับ ความคาดหวังอยู่บ้าง แน่นอนว่าอัลบั้มนี้ไม่ใช่เพลงไทย และดนตรีของอัลบั้มนี้ก็ไม่ ใช่ดนตรีสากลเสียทีเดียว มันเป็นอะไรที่กึ่ง ๆ กลาง ๆ หากความคาดหวังของผู้รับฟัง ว่าจะได้รับฟังเพลง The Beatles ที่คงความเป็นสี่เต่าทอง ก็คงไม่ใช่อะไรแบบนั้น หรือหากคาดหวังจะได้รับฟังเพลงไทยในรูปแบบพื้นบ้านของภาคต่าง ๆ อย่างไม่ผิดเพี้ยน นั่นก็ไม่ใช่อีก นับเป็นความท้าทายและความยากอย่างยิ่งที่จะหาจุดร่วมเพื่อให้คนส่วนหนึ่งยอมรับและชื่นชอบได้
...
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าพอใจคือดูเหมือน TTB นั้นให้ความสำคัญกับเสียงร้องและดนตรีเทียบเท่ากัน นักดนตรีทุกท่านฝีมือจัดจ้าน นักร้องก็ไม่แพ้กัน จะมียกเว้นบ้างก็แต่ Come Together ที่คงต้องยกให้เสียงของเก่ง ธชยนั้นโดดเด่นล้ำหน้า และ Lucy in the Sky With Diamonds ที่ดนตรีทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงขลุ่ยโดย อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี นั้นชวนดึงสมาธิทั้งหมดไปเพ่งฟังซะเหลือเกิน
...
สำหรับเรื่องคุณภาพเสียง แค่ชื่อค่ายใบชาซองก็เป็นอะไรที่การันตีคุณภาพได้เป็นอย่างดี และอัลบั้มนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น คุณภาพการบันทึกเกินมาตรฐาน และเกินความคาดหวังกับความซับซ้อนของเครื่องดนตรีขนาดนี้ไปมาก แทร็กสุดท้าย Help! อาจให้อารมณ์ความเป็น Live โดดเด่นสักหน่อย ทั้งหมดนี้ถ้าจะบังคับให้ติ กันจริง ๆ คงได้แค่...พี่บรรณยังสามารถมิกซ์ให้ดีกว่านี้ได้อีกแน ่ ๆ และนั่นคงทำให้สุ้มเสียงยิ่งน่ารับฟังขึ้นไปอีก หรือนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในการออกเวอร์ชั่นรีมาสเตอร์ในอนาคต?
...
แต่อย่าลืมว่า TTB นี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่สูงมาก ต้องยอมรับว่าย่อมมีความเสี่ยงที่ผู้ฟังบางท่านอาจผิดหวังด้วยความคิดว่าตัวเพลงน่าจะอะลุ่มอล่วยกว่านี้ น่าจะมีความสากล มีความเป็น The Beatles มากกว่านี้ และถึงแม้จะเปิดใจกว้างอย่างเต็มที่ในการรับฟัง การเข้าถึงเพลงส่วนใหญ่ในอั ลบั้มนี้ก็ยังนับว่าไม่ง่าย นักที่จะ “อิน” ตั้งแต่รอบแรกแรก ยังคงต้องใช้เวลารับฟังซ้ำ ๆ อยู่บ้าง
...
อีกทั้งช่วงนี้ถือเป็นขาลงของซีดีในเมืองไทย การจะหาศิลปินสักคนหรือวงดนตรีสักวงที่วางขายซีดีเป็นอัลบั้มเท่านี้ก็ไม่ง่ายแล้ว การหาร้านขายซีดียิ่งยากขึ้นไปอีก และในมุมมองผู้บริโภคสิ่งที ่เป็นอุปสรรคของการรับฟังเพ ลงในรูปแบบซีดีมากที่สุดน่า จะเป็นเรื่องเครื่องเล่น หลาย ๆ ท่านที่ได้ซีดีมามีโอกาสได้เล่นได้ฟังแต่ในรถเท่านั้นด้วยซ้ำ
...
ตัวดนตรีเองแทบไม่มีข้อติใดที่ชัดเจนพอให้กล่าวถึงเท่าไรนัก อาจมีเสียงเอฟเฟกต์ที่ดูไม่มีที่มาที่ไป ไม่ค่อยเข้ากับท่วงทำนองดนตรีในช่วงนั้น แต่มันก็ไม่ได้โดดเด่นขนาดดึงความสนใจออกจากตัวบทเพลงไปได้เสียทุกครั้งที่รับฟัง จึงไม่อยากเรียกว่าเป็นข้อเสียซะทีเดียว
...
อัลบั้มนี้จึงไม่ใช่งานแบบขอไปที่ไม่ใช่งานคั่นเวลา ไม่ใช่งานที่ทำเพื่อโกยรายได้ ไม่ใช่อัลบั้มที่ทำเพื่อเอาใจสปอนเซอร์ ทุกวินาทีที่อัลบั้มนี้นำเสนอเต็มไปด้วยการให้เกียรติผู้ฟังอย่างที่สุด ด้วยคุณภาพของเพลงต้นฉบับ คุณภาพของการเรียบเรียง คุณภาพของศิลปินที่ขับร้อง คุณภาพของนักดนตรีที่ร่วมบรรเลง คุณภาพของการบันทึกเสียง คุณภาพของซีดีและแพคเกจจิ้ง ทั้งมีความเป็นเอกลักษณ์สูงซึ่งหาได้ยากยิ่งในวงการเพลงในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นไทยหรือสากลก็ตาม
...
…The Thai Beatles คือผลงานระดับโลก ความดีงามทั้งหมดของอัลบั้มนี้จะถูกกล่าวถึง และถูกนำไปอ้างอิงอีกนาน
...
9.8/10 - สิปปนนท์ สามไชย